- รูปแบบการใช้ไอซีทีพัฒนาเด็กและเยาวชนให้รู้จักเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างสร้างสรรค์จากแหล่งเรียนรู้เอกสารสิทธิบัตรนานาชาติ (นายปราโมทย์ ธรรมรัตน์ สถาบันออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หัวหน้าโครงการ)
- การสำรวจรูปแบบการใช้เครื่องมือแห่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (ไอซีที) เพื่อพัฒนาทักษะความคิดของนักเรียนในระดับประถมศึกษา (นางสาวธัญญ์ณัช บุษบงค์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช. หัวหน้าโครงการ)
- การพัฒนาทักษะการเขียนภาษาไทยเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในสามจังหวัดชายแดนใต้ด้วยการเรียนรู้แบบร่วมมือผ่านเว็บบล็อกและเครือข่ายสังคมออนไลน์ ( ดร.ศิริชัย นามบุรี สาขาคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา) [สไลด์ประกอบการนำเสนอ...]
- การปฏิวัติการเรียนรู้ทักษะการอ่านด้วยหนังสือวรรณคดีไทยอิเล็กทรอนิกส์ (e-book) หัวหน้าโครงการ ดร.พัชรินทร์ บูรณะกร คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
- การศึกษาและพัฒนาสื่อคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้การใช้งานโปรแกรมประยุกต์ที่มีประสิทธิภาพสำหรับผู้พิการทางการได้ยิน (ดร.สุธา เหลือลมัย วิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล หัวหน้าโครงการ)
- ผลของการใช้เฟสบุคที่มีต่อสมรรถภาพด้านการเรียนของนักศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร (ผศ.ดร.วิไลลักษณ์ เสรีตระกูล คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ)
- การพัฒนารูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูเพื่อสร้างชุมชนนักปฏิบัติไอซีทีในการจัดการเรียนการสอนของครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ดร.ศยามน อินสะอาด คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง หัวหน้าโครงการ)
- การพัฒนาชุมชนออนไลน์เครือข่ายครูไทยหัวใจไอซีที (ดร.ขวัญหญิง ศรีประเสริฐภาพ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ หัวหน้าโครงการ)
การจัดเวทีครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก ดร.สีลาภรณ์ บัวสาย รองผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ดร.จุฬากรณ์ มาเสถียรวงศ์ ผู้อำนวยการสถาบันรามจิตติ และผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้อง คุณครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล ครูเชี่ยวชาญการบูรณาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อยกระดับการเรียนการสอน
การเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ ได้แนวคิดและความรู้เกี่ยวกับกระบวนการวิจัยพัฒนาการเรียนรู้โดยใช้ไอซีทีเป็นเครื่องมือ เน้นผลการวิจัยที่เป็นรูปแบบหรือกระบวนการที่สามารถนำรูปแบบและกระบวนการไปปรับประยุกต์ใช้ได้และขยายผลในครูกลุ่มใหม่ หรือสามารถทำซ้ำได้ใหม่ได้ เป็นแนวปฏิบัติที่ดีนำไปพัฒนาครูผู้สอนต่อไปได้
การเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ ได้แนวคิดและความรู้เกี่ยวกับกระบวนการวิจัยพัฒนาการเรียนรู้โดยใช้ไอซีทีเป็นเครื่องมือ เน้นผลการวิจัยที่เป็นรูปแบบหรือกระบวนการที่สามารถนำรูปแบบและกระบวนการไปปรับประยุกต์ใช้ได้และขยายผลในครูกลุ่มใหม่ หรือสามารถทำซ้ำได้ใหม่ได้ เป็นแนวปฏิบัติที่ดีนำไปพัฒนาครูผู้สอนต่อไปได้
![]() | ![]() |