ตัวอย่างการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์สร้างกลุ่มร่วมกันในการพัฒนาการเรียนการสอนของเครือข่ายครูผู้สอนภาษาไทย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 15 โรงเรียน ร่วมกันพัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทย เรื่อง การเขียนเรียงความเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมในการเข้าร่วมโครงการวิจัย เรื่อง รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมกันผ่านเว็บบล็อกและเครือข่ายสังคมออนไลน์สอนทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์สำหรับครูผู้สอนภาษาไทยระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในสามจังหวัดชายแดนใต้
เครือข่ายสังคมออนไลน์เฟซบุ๊ค (http://www.Facebook.com ) นับเป็นเครือข่ายสังคมออนไลน์ขนาดใหญ่ มีสมาชิกเชื่อมต่อออนไลน์ต่อเดือนอยู่จำนวนมากกว่า 1.23 พันล้านราย (ข้อมูลเมื่อ 1/29/2014) เฟชบุ๊คมีความสามารถหลากหลาย จัดการกลุ่มและสมาชิกได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถสร้างกลุ่มแบบเปิดและกลุ่มแบบปิด บริการเฉพาะสมาชิกในกลุ่มเท่านั้นก็ได้ นอกจากนั้นยังมีความสามารถในการจัดการภาพ ตารางนัดหมายกิจกรรม จัดการแนบแฟ้มข้อมูลเพื่อแลกเปลี่ยนกันได้สะดวก ซึ่งเหมาะสำหรับการนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารขณะมีกิจกรรมเรียนรู้ร่วมกัน หรือแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน เป็นช่องทางในการสื่อสารได้สะดวกในทุกๆ ที่ทุกๆ เวลา โดยเฉพาะในปัจจุบันที่แต่ละคนสามารถจัดหาหรือมีอุปกรณ์ประเภทเคลื่อนที่ติดตามตัว (Mobile Devices) เช่น Smart Phone, Tablet, iPad ที่มีความก้าวหน้าไปอย่างมาก เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านเครือข่าย 3G จึงนับเป็นเครื่องมือที่ทำให้เราสามารถเข้าถึงอินเทอร์ได้ในทุกๆ ที่และทุกเวลา จึงทำให้ทั้งผู้เรียนและผู้สอนต้องปรับเปลี่ยนเทคนิค วิธีการสอน และรวมทั้งเทคนิคการเรียนรู้ร่วมกัน
ดังตัวอย่าง เป็นการใช้ Facebook เป็นเครื่องมือส่วนหนึ่งของผู้สอนใช้ร่วมกัน Web Blog ทดลองจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทยระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง การเขียนเรียงความเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งนับเป็นการสร้างศักยภาพด้าน ICT เพื่อการเรียนรู้ของสังคมไทยได้อย่างชัดเจน
สนับสนุนการวิจัยจาก สกว. ในโครงการการใช้ ICT เพื่อการเรียนรู้ ประจำปี 2556 โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนารูปแบบการสอนทักษะการเขียนภาษาไทยเชิงสร้างสรรค์ของครูผู้สอนระดับชัั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในสามจังหวัดชายแดนใต้ด้วยเว็บบล็อกและสื่อสังคมออนไลน์ เป็นการส่งเสริมความรู้และทักษะการเขียนภาษาไทยเชิงสร้างสรรค์ให้แก่ผู้เรียนในลักษณะเรียนรู้แบบร่วมมือ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น