วันจันทร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ประกวดเรียงความ"ค่านิยมหลัก 12 ประการ" ระดับประถม-อุดมศึกษาชิงเงินรางวัลเป็นล้านบาท

กรมประชาสัมพันธ์จัดโครงการประกวดเรียงความ หัวข้อ "ค่านิยม 12 ประการ" ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาและอุดมศึกษา ชิงเงินรางวัลกว่า 1 ล้านบาท มีรายละเอียดดังนี้
มีรายละเอียดดังนี้

1.หัวข้อ"ค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ"
2.แบ่งผู้สนใจเข้าร่วมประกวดเรียงความ 3 ระดับ
2.1 ระดับประถมศึกษา
2.2 ระดับมัธยมศึกษา (รวมถึงระดับ ป.ว.ช.)
2.3 ระดับอุดมศึกษา (รวมถึงระดับ ป.ว.ส.)

หลักเกณฑ์การส่งเรียงควสามเข้าประกวด
1.ให้ใช้ตัวพิมพ์ดีด หรือตัวพิมพ์คอมพิวเตอร์มาตรฐาน ขนาด 16 ความยาวไม่เกิน2หน้ากระดาษ เอ 4 (ตัวอักษรอังสนา)
สำหรับประถมศึกษาให้เขียนด้วยลายมือตัวบรรจง เว้นบรรทัด ความยาวไม่เกิน 2 หน้ากระดาษสมุดเรียน หรือคอมพิวเตอร์
2.ต้องเป็นเรียงความที่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับหัวข้อที่จัดประกวด
3.การส่งเรียงความเข้าประกวดต้องแจ้งชื่อ-นามสกุล ระบุระดับ และหัวข้อค่านิยมพร้อมแจ้งที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อกลับได้อย่างสะดวก ชัดเจน
4.สามารถส่งเรียงความเข้าประกวดได้ตั้งแต่ 1 หัวข้อ หรือมากกว่า ทั้งนี้ไม่จำกัดจำนวนหัวข้อ
รางวัลสำหรับเรียงความที่ชนะเลิศ

ระดับประถมศึกษา รางวัลชนะเลิศ เงินสด 20,000 บาท พร้อมโล่เกียรติยศ ต่อ 1 หัวข้อ รวม 12 หัวข้อ

ระดับมัธยมศึกษา (รวมถึงระดับ ป.ว.ช.) รางวัลชนะเลิศ เงินสด 30,000 บาท พร้อมโล่เกียรติยศ ต่อ 1 หัวข้อ รวม 12 หัวข้อ

ระดับอุดมศึกษา (รวมถึงระดับ ป.ว.ส.) รางวัลชนะเลิศ เงินสด 50,000 บาท พร้อมโล่เกียรติยศ ต่อ 1 หัวข้อ รวม 12 หัวข้อ

กำหนดระยะเวลา
ส่งผลงานได้ตั้งแต่วันนี้ - 30 พฤศจิกายน 2557

การส่งเรียงความ
ส่งด้วยตนเอง หรือทางไปรษณีย์ที่
สำนักพัฒนาการประชาสัมพันธ์ กรมประชาสัมพันธ์
เลขที่ 9 ซอยอารีย์สัมพันธ์ ถนนพระราม 6
แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400
ทาง E-mail : prdthailand@gmail.com

ข้อมูลจาก
EDUZone: http://www4.eduzones.com/magazine/136640
AECNews: http://www.aecnews.co.th/social/read/3229

วันอังคารที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2557

กิจกรรมนำเสนอโครงการวิจัย โครงการ ICT เพื่อปฏิวัติการเรียนรู้ของเด็ก เยาวชนและสังคมไทย

วันอังคารที่ 23 กันยายน 2557 เวลา 09.00-16.00 น. คณะนักวิจัย "โครงการไอซีทีเพื่อการปฏิวัติการเรียนรู้ของเด็ก เยาวชนและสังคมไทย" เข้าร่วมกิจกรรมนำเสนอความก้าวหน้าโครงการวิจัย ครั้งที่ 2 (ปิดโครงการวิจัย) ณ ห้องประชุม 1 สกว. ชั้น 14 อาคาร SM สนามเป้า กรุงเทพฯ โดยมีนักวิจัยในโครงการนำเสนอโครงการวิจัย จำนวน 14 โครงการ รวมทั้งโครงการวิจัย เรื่อง การพัฒนาทักษะการเขียนภาษาไทยเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในสามจังหวัดชายแดนใต้ด้วยการเรียนรู้แบบร่วมมือผ่านเว็บบล็อกและเครือข่ายสังคมออนไลน์ ซึ่งมี ดร.ศิริชัย นามบุรี เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย ดังรายชื่อนักวิจัย ดังนี้
  1. รูปแบบการใช้ไอซีทีพัฒนาเด็กและเยาวชนให้รู้จักเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างสร้างสรรค์จากแหล่งเรียนรู้เอกสารสิทธิบัตรนานาชาติ (นายปราโมทย์ ธรรมรัตน์ สถาบันออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หัวหน้าโครงการ)
  2. การสำรวจรูปแบบการใช้เครื่องมือแห่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (ไอซีที) เพื่อพัฒนาทักษะความคิดของนักเรียนในระดับประถมศึกษา (นางสาวธัญญ์ณัช บุษบงค์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช. หัวหน้าโครงการ)
  3. การพัฒนาทักษะการเขียนภาษาไทยเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในสามจังหวัดชายแดนใต้ด้วยการเรียนรู้แบบร่วมมือผ่านเว็บบล็อกและเครือข่ายสังคมออนไลน์ ( ดร.ศิริชัย นามบุรี สาขาคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา) [สไลด์ประกอบการนำเสนอ...]
  4. การปฏิวัติการเรียนรู้ทักษะการอ่านด้วยหนังสือวรรณคดีไทยอิเล็กทรอนิกส์ (e-book) หัวหน้าโครงการ ดร.พัชรินทร์ บูรณะกร คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
  5. การศึกษาและพัฒนาสื่อคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้การใช้งานโปรแกรมประยุกต์ที่มีประสิทธิภาพสำหรับผู้พิการทางการได้ยิน (ดร.สุธา เหลือลมัย วิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล หัวหน้าโครงการ)
  6. ผลของการใช้เฟสบุคที่มีต่อสมรรถภาพด้านการเรียนของนักศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร (ผศ.ดร.วิไลลักษณ์ เสรีตระกูล คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ)
  7. การพัฒนารูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูเพื่อสร้างชุมชนนักปฏิบัติไอซีทีในการจัดการเรียนการสอนของครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ดร.ศยามน อินสะอาด คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง หัวหน้าโครงการ)
  8. การพัฒนาชุมชนออนไลน์เครือข่ายครูไทยหัวใจไอซีที (ดร.ขวัญหญิง ศรีประเสริฐภาพ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ หัวหน้าโครงการ)
   การจัดเวทีครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก ดร.สีลาภรณ์ บัวสาย รองผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย  ดร.จุฬากรณ์ มาเสถียรวงศ์ ผู้อำนวยการสถาบันรามจิตติ และผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้อง คุณครูพูนศักดิ์  สักกทัตติยกุล ครูเชี่ยวชาญการบูรณาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อยกระดับการเรียนการสอน
   การเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ ได้แนวคิดและความรู้เกี่ยวกับกระบวนการวิจัยพัฒนาการเรียนรู้โดยใช้ไอซีทีเป็นเครื่องมือ เน้นผลการวิจัยที่เป็นรูปแบบหรือกระบวนการที่สามารถนำรูปแบบและกระบวนการไปปรับประยุกต์ใช้ได้และขยายผลในครูกลุ่มใหม่ หรือสามารถทำซ้ำได้ใหม่ได้ เป็นแนวปฏิบัติที่ดีนำไปพัฒนาครูผู้สอนต่อไปได้

วันจันทร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2557

กิจกรรมแลกเปลี่ยน ทบทวน และติดตามการจัดการเรียนรู้

    โครงการ “ไอซีทีเพื่อปฏิวัติการเรียนรู้ของเด็ก เยาวชน และสังคมไทย”  โดยโครงการวิจัยเรื่อง รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมกันผ่านเว็บบล็อกและเครือข่ายสังคมออนไลน์สอนทักษะการเขียน  เชิงสร้างสรรค์ สำหรับครูผู้สอนภาษาไทยระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ ในสามจังหวัดชายแดนใต้ จะจัดกิจกรรมติดตาม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ปัญหา และอุปสรรคระหว่างการจัดการเรียนรู้ ในวันเสาร์ที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ เวลา ๐๘.๓๐ –๑๖.๐๐ น.  ณ ห้องประชุมชั้น ๖ อาคารสำนักวิทยบริการฯ (หอสมุด) มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จึงขอเชิญครูผู้สอนเครือข่ายทั้ง 15 ท่านเข้าร่วมกิจกรรม ขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ [รายละเอียดหนังสือเชิญและกำหนดการ]

วันอาทิตย์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ผลการนำเสนอโปสเตอร์ของครู Thai3P: ผลงานการจัดการการเรียนรู้การใช้รูปแบบ Thai CoWeb-SocNet



ระหว่างวันที่ 16-20 สิงหาคม 2557 โครงการวิจัย
เรื่อง รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมกันผ่านเว็บบล็อกและเครือข่ายสังคมออนไลน์ สอนทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์สำหรับครูผู้สอนภาษาไทยระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในสามจังหวัดชายแดนใต้ โดยกลุ่มครู Thai3p นำเสนอผลการจัดการเรียนรู้ด้วยโปสเตอร์ในบูธโครงการวิจัย ร่วมกับสาขาคอมพิวเตอร์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร  ผลการนำเสนอผลงานจากโครงการวิจัยครั้งนี้ มีนักศึกษาและคุณครูผู้สอนให้ความสนใจ ลงชื่อเข้าร่วมกิจกรรม/โครงการวิจัยโดยใช้ไอซีทีเป็นฐานจำนวนมาก
     ทั้งนี้ จะได้จัดโครงการพัฒนาศักยภาพการสอนโดยใช้ไอซีทีเป็นฐานในโอกาสต่อไป [ดูโปสเตอร์ผลงานอื่นๆ...]

วันจันทร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2557

กิจกรรมนำเสนอโครงการวิจัย Thai3p ในงาน "80 ปี จากฝึกหัดครูสู่คลังปัญญาแห่งชายแดนใต้"

โครงการวิจัย เรื่อง รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมกันผ่านเว็บบล็อกและเครือข่ายสังคมออนไลน์สอนทักษะการเขียน เชิงสร้างสรรค์ สำหรับครูผู้สอนภาษาไทยระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในสามจังหวัดชายแดนใต้ หรือโครงการ Thai3p นำผลการวิจัยและผลการนำรูปแบบการจัดการเรียนรู้ไปใช้จัดการเรียนรู้ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ของครูผู้สอน จำนวน 14 คน ร่วมนำเสนอโปสเตอร์ในบูธนิทรรศการวิชาการในงาน "80 ปี จากฝึกหัดครูสู่คลังปัญญาแห่งชายแดนใต้" ระหว่างวันที่ 16-20 สิงหาคม 2557 ณ บริเวณอาคารประกอบ หอประชุมเล็ก มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา  พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ครูผู้สอนในวิชาต่างๆ นักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทย นักศึกษาสาขาครุศาสตร์ ร่วมทำกิจกรรมและลงชื่อในใบสมัครเข้าร่วมโครงการต่อยอดจากการวิจัยในระยะต่อไป ซึ่งมีผู้สนใจจำนวนมาก

      ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดใบสมัคร [Download] และส่งอีเมลมาที่ sirichai.nbr@gmail.com 







วันศุกร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2557

โครงการวิจัย Thai3p ร่วมจัดนิทรรศการวิชาการในงาน "80 ปี จากฝึกหัดครู สู่คลังปัญญาชายแดนใต้"

โครงการวิจัย Thai3p ร่วมจัดบูธในงาน  "80 ปี จากฝึกหัดครู สู่คลังปัญญาชายแดนใต้" ณ บริเวณมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เพื่อเชิญชวนให้ครูผู้สนใจการใช้ ICT เป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในรายวิชา โดยจัดแสดงนิทรรศการตั้งแต่วันที่ 16-20 สิงหาคม 2557 ณ บริเวณของบูธคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร (อาคารประกอบหอประชุมเล็กปีกขวา)  โดยในงานดังกล่าวมีกิจกรรมด้านวิชาการ กิจกรรมทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การแข่งขันนกเขา การเสวนาทางวิชาการ การประกวดแข่งขันทางวิชาการ กิจกรรมแสดงสินค้า OTOP  สินค้าธุรกิจรถยนต์ และอื่นๆ อีกมากมาย ติดตามรายละเอียดที่ http://www.yru.ac.th/80year








วันอาทิตย์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2557

แบบฟอร์มส่งข้อมูลสำหรับนำเสนอ Poster ในงาน "80 ปี จากฝึกหัดครูสู่คลังปัญญาแห่งชายแดนใต้"

เรียน คุณครูกลุ่ม Thai3p 

    กรุณากรอกแบบฟอร์มและส่งภาพประกอบให้คุณนิลดาตามฟอร์มที่แนบมานี้ เพื่อจะจัดทำ Poster นำเสนอในบูธโครงการวิจัยในงาน 80 ปี จากฝึกหัดครูสู่คลังปัญญาแห่งชายแดนใต้ โดยให้ส่งข้อมูลภายในวันที่ 8 ส.ค. นี้นะครับ เพราะทางโครงการจะต้องเตรียมจัดทำเป็น Poster และต้องใช้เวลาออกแบบครับ 
กรณีมีปัญหาประสานคุณนิลดาครับ  ขอบคุณมาก 

วันศุกร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ขอเชิญร่วมงาน "80 ปี จากฝึกหัดครู สู่คลังปัญญา แห่งชายแดนใต้"


ขอเชิญครูกลุ่มเครือข่าย Thai3p นักเรียน และผู้บริหารโรงเรียน ร่วมงาน "80 ปี จากฝึกหัดครู สู่คลังปัญญา แห่งชายแดนใต้" วันที่ 16-20 สิงหาคม 2557 ตั้งแต่เวลา 10.00-22.00 น. ทุกวัน ณ บริเวณมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา อ.เมือง จ.ยะลา มีกิจกรรมที่น่าสนใจ มากมาย อาทิเช่น นิทรรศการ 80 ปี จากฝึกหัดครู สู่คลังปัญญา แห่งชายแดนใต้ นิทรรศการ มรย.วิชาการ การเสวนามุมมองการศึกษาไทยสู่ AEC งานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ งานคืนสู่เหย้าศิษย์เก่าชมพู-เทา การแข่งขันนกพื้นบ้าน กีฬามวลชน "ราชภัฏคัพ" กิจกรรมออกร้านสินค้า OTOP การสาธิต การประกวดแข่งขันวิชาการ และกิจกรรมบันเทิงส่งเสริมสมานฉันท์และศิลปวัฒนธรรมในจังหวัดชายแดนใต้ 
ชาว มรย.ขอเรียนเชิญทุกท่านด้วยความยินดียิ่ง โปรดติดตามรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ http://www.yru.ac.th/ 

วันเสาร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2557

กิจกรรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์จากการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ Thai CoWeb-SocNet

คณะนักวิจัย ครูผู้สอน และนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ และผู้แทนจาก สถาบันรามจิตติ
เมื่อ วันเสาร์ที่ 21 มิถุนายน 2557  เวลา 08.00-17.00 น. ที่ผ่านมา ณ ห้องประชุมชั้น 6 อาคารสำนักวิทยบริการ โครงการวิจัย Thai3P ได้จัดกิจกรรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนการเขียนเรียงความเชิงสร้างสรรค์ผ่านเว็บบล็อก ร่วมกับช่องทางการสื่อสารและเรียนรู้ร่วมกันโดยใช้ Facebook และ Gmail เป็นเครื่องมือ ซึ่งในโครงการวิจัยเรียกรูปแบบนี้ว่า Thai CoWeb-SocNet โดยคณะนักวิจัย ครูผู้สอนภาษาไทย รวมทั้งนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย มีโอกาสเรียนรู้ร่วมกัน ตั้งแต่การพัฒนาทักษะการใช้ ICT สำหรับการจัดการเรียนรู้ผ่านเว็บบล็อก การใช้ Facebook การใช้ Gmail  การพัฒนาการแผนการจัดการเรียนรู้ ใบความรู้ ใบงาน และเกณฑ์การประเมินผลงานเรียงความ ทั้งนี้ เพื่อนำไปจัดการเรียนการสอน (จัดการเรียนรู้) เรื่อง การเขียนเรียงความเชิงสร้างสรรค์ วิชาภาษาไทย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในภาคเรียนที่ 2 การปีการศึกษา 2556 ที่ผ่านมา
    สำหรับการจัดกิจกรรมครั้งนี้ มีครูผู้สอนภาษาไทยจากโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ ทั้งจากสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานการศึกษาเอกชน จากจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส เข้าร่วมโครงการ 14 โรงเรียน นอกจากนั้น ยังครูผู้สนใจรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น เข้าร่วมเวทีในวันนี้ 18 คน นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการผู้แทนจากโรงเรียนต่างๆ โรงเรียนละ 1-2 คน รวมทั้งหมด 15 คน พร้อมด้วยคณะนักวิจัย ในกิจกรรมนี้ ยังได้รับเกียรติจากคณะผู้รับผิดชอบโครงการ "ไอซีทีเพื่อปฏิวัติการเรียนรู้ของเด็ก
เยาวชน และสังคมไทย" ซึ่งนำทีมโดย ดร.จุฬากรณ์ มาเสถียรวงศ์ หัวหน้าโครงการและคณะทำงาน จาก สถาบันรามจิตติ รวม 4 ท่าน
      ผลจากการแบ่งกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กลุ่มละ 7-8 คน (ครูผู้สอน 2 กลุ่ม นักเรียน 2 กลุ่ม)  ในส่วนของครูผู้สอนเห็นว่ารูปแบบการจัดการเรียนการสอน Thai CoWeb-SocNet ทำให้ครูมีเจตคติที่ดีต่อการใช้ ICT เป็นเครื่องมือจัดการเรียนการสอน ครูได้มีโอกาสพัฒนาความรู้และทักษะการใช้ ICT เป็นเครื่องมือ โดยเฉพาะครูภาษาไทยที่หลายท่านอาจมองว่าไม่เกี่ยวข้องกับ ICT แต่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากการใช้ ICT คือ เว็บบล็อกเป็นเครื่องมือ สามารถสร้างเจตคติที่ดี สร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียนสนใจและกระตือรือร้นอยากเรียนภาษาไทยเพิ่มขึ้น (นักเรียนมารอหน้าห้องคอมพิวเตอร์
เพื่อเรียนวิชาภาษาไทยก่อนครูมา ซึ่งการสอนแบบเดิม ครูต้องรอนักเรียน) การเขียนเรียงความผ่านเว็บบล็อกสามารถแทรกภาพคลิปที่เป็นสื่อมัลติมีเดียได้ ทำให้น่าสนใจ ครูสามารถเรียนรู้ร่วมกันโดยสร้างเป็นเครือข่ายได้สะดวกขึ้น นักเรียนมีการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อนช่วยเพื่อน แลกเปลี่ยนความคิดเรียนรู้ร่วมกัน ลดช่องว่างระหว่างครูกับนักเรียน นักเรียนมี ความพยายามที่จะเขียนเรียงความให้ดีที่สุด ครูมีการแลกเปลี่ยน ความคิดเห็นซึ่งกันและกัน และการเขียนเรียงความผ่านเว็บบล็อก ทำให้สามารถพัฒนาทักษะการเขียนเพิ่มขึ้นได้ เป็นต้น
   สำหรับประเด็นต่างๆ ที่ได้จากการแลกเปลี่ยน
เรียนรู้กลุ่มของนักเรียน พบประเด็นที่สำคัญ ได้แก่ นักเรียนเห็นว่าการใช้เว็บบล็อกสอนภาษาไทย เรื่องการเขียนเรียงความเชิงสร้างสรรค์ ทำให้สนใจ กระตือรือร้น อยากเรียนวิชาภาษาไทยเพิ่มขึ้น ได้มีโอกาสพัฒนาทักษะและความรู้การใช้ ICT  สำหรับเรื่องราวดีๆ ที่เพื่อนนำเสนอในเว็บบล็อกของครู ทำให้รู้สึกภูมิใจในสิ่งดีๆ ของสามจังหวัดชายแดนใต้เพิ่มขึ้น สามารถนำข้อเสนอแนะของครูที่แนะนำ (Comment) เรียงความของเพื่อน มาปรับปรุงผลงานตนเองได้ แต่อยากเขียนเรียงความเรื่องที่เกี่ยวข้องกับจังหวัดอื่นๆ ของไทยด้วย รวมทั้งเขียนบันทึกส่วนตัวได้ด้วย นอกจากการเขียนเรียงความ ที่สำคัญคือ อยากให้ทุกๆ วิชาใช้เว็บบล็อกในการจัดการเรียนรู้ด้วย จะได้ไม่เกิดความเบื่อหน่าย
   ส่วนปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญของทั้งครูและนักเรียนเห็นพ้องกัน ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์โรงเรียนไม่เพียงพอ อินเทอร์เน็ตช้า เวลาเรียน 1 ชั่วโมงไม่เพียงพอ ต้องใช้นอกเวลาเรียน ครูขาดทักษะ ICT ระดับสูง นักเรียนมีงานมาก มีโครงงานทุกวิชา  และข้อเสนอแนะที่สำคัญ คือ อยากให้มีโครงการในลักษณะนี้อีก และอยากให้ทุกวิชานำรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบนี้ไปใช้ ส่วนครูควรจะมีการพัฒนาทักษะ ICT โดยเฉพาะการสร้างสื่อมัลติมีเดีย เช่น การ์ตูน สื่อวิดีทัศน์ง่ายๆ เพื่อรวบรวมเป็นผลงานของครูผู้สอน และเห็นว่าควรจะขยายเครือข่ายครูผู้สอนที่ใช้ ICT เป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนการสอนเพิ่มขึ้นในสามจังหวัดชายแดนใต้ เพื่อสร้างคุณภาพการศึกษาในพื้นที่
     ผลงานในโครงการวิจัยทั้งหมด และรายงานผลการจัดการเรียนรู้ของครูแต่ละโรงเรียน จะนำเสนอในงานวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ในงาน "๘๐ ปี จากฝึกหัดครู สู่คลังปัญญาชายแดนใต้"  ในระหว่างวันที่ 16-20 สิงหาคม 2557 บริเวณบูธของสาขาคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร ภายในบริเวณมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

วันจันทร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ขอเชิญคุณครูและนักเรียนกลุ่ม Thai3P ร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์จากการจัดการเรียนรู้ Thai CoWeb-SocNet

ประกาศ !!! วันเสาร์ที่ 21 มิถุนายน 2557 เวลา 08.00-17.00 น. ขอเชิญคุณครูผู้สอนภาษาไทย ในกลุ่ม Thai3P ทุกท่าน ตัวแทนนักเรียน นักวิจัย และผู้สนใจ เข้าร่วมกิจกรรมเวที "แลกเปลียนเรียนรู้ประสบการณ์จากการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ Thai CoWeb-SocNet" สำหรับจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทยระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง การเขียนเรียงความเชิงสร้างสรรค์  โดยจัดกิจกรรม ณ ห้องประชุมชั้น 6 อาคารสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

กำหนดการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีราละเอียดดังนี้
  • เวลา 08.00 - 08.30 น. ลงทะเบียน
  • เวลา 08.30 - 09.00 น. กล่าวต้อนรับโดย ดร.ศิริชัย นามบุรี หัวหน้าโครงการวิจัย
  • เวลา 09.00 - 10.30 น. กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 3 กลุ่ม (คละกลุ่ม จังหวัด ครู และนักเรียน)
  • เวลา 10.30 - 10.45 น. รับประทานอาหารว่าง
  • เวลา 10.45 - 12.00 น. กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 3 กลุ่ม (คละกลุ่ม จังหวัด ครู และนักเรียน) (ต่อ)
  • เวลา 12.00 - 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
  • เวลา 13.00 - 14.30 น. นำเสนอผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้ง 3 กลุ่ม
  • เวลา 14.30 - 16.00 น. สรุปผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
  • เวลา 16.00 - 16.30 น. นัดหมายส่งรายงานผลการจัดการเรียนรู้ 
  • เวลา 16.30 - 17.00 น. มอบทุนสนับสนุนการเข้าร่วมโครงการ
  • เวลา 17.00 น. ปิดกิจกรรม
หมายเหตุ
1. ขอให้คุณครูและนักเรียนเตรียมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ เช่น รายงานผลการจัดการเรียนรู้ของครู (ฉบับร่าง) ตัวอย่างแบบสอบถามที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล รายงานบันทึกคะแนน ภาพประกอบ หรือเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง นำมาเพื่อใช้ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 
2. แบบประเมินความสำเร็จการเรียนรู้ร่วมกัน ที่ต้องเก็บข้อมูลเพิ่มเติมจากข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิของ สกว. แนะนำ ให้ Download ได้ที่


   กรณีมีข้อสงสัยโปรดประสานคุณนิลดา เจะแว ผู้ประสานงานโครงการ ขอบคุณครับ

นำเสนอความก้าวหน้างานวิจัย โครงการวิจัยรูปแบบการเรียนรู้ Thai CoWeb SocNet ณ ห้องประชุม สกว. กทม.

วันที่ 3 มิถุนายน 2557 ดร.ศิริชัย นามบุรี เป็นตัวแทนคณะนักวิจัยสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ หัวหน้าโครงการวิจัย เรื่อง รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมกันผ่านเว็บบล็อกและเครือข่ายสังคมออนไลน์สอนทักษะการเขียน เชิงสร้างสรรค์ สำหรับครูผู้สอนภาษาไทยระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในสามจังหวัดชายแดนใต้  นำเสนอความก้าวหน้าของโครงการวิจัย ณ อาคาร SM Tower กทม. (ห้องประชุม 1 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ) ผลการนำเสนอและข้อแนะนำจากผู้ทรงคุณวุฒิ จะนำไปเล่าและแลกเปลี่ยนกับทีมวิจัย (คณะนักวิจัย และครูผู้สอนภาษาไทยกลุ่ม Thai3P) ขอบคุณสมาชิกกลุ่มครู Thai3P ทุกท่านที่ให้ความร่วมมือขับเคลื่อนโครงการวิจัยฯ ด้วยดีมาตลอด

วันเสาร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ตัวอย่างการจัดการเรียนรู้เรื่อง การเขียนเรียงความเชิงสร้างสรรค์ (ผลงานนักเรียนและข้อเสนอแนะ)

การใช้เว็บบล็อกสำหรับการจัดการเรียนรู้ สามารถส่งเสริมทักษะการเขียนให้แก่ครูผู้สอนและผู้เรียน เพราะผู้เรียนสามารถเขียนนำเสนอผลงานตนเองผ่านเว็บบล็อกของผู้สอน ผู้สอนสามารถให้ข้อแนะนำเพื่อปรับปรุงและพัฒนาผลงานแก่ผู้เรียน นับเป็นการเรียนรู้ที่สนับสนุนการเรียนรู้แบบรายบุคคลและส่งเสริมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ยกตัวอย่างการจัดการเรียนรู้ของครูเพ็ญศรี แทนหนู  โรงเรียนตันหยงมัส อ.ระแงะ จ.นราธิวาส  http://pensrithai.blogspot.com/2014/02/blog-post_7696.html
ตัวอย่างการใช้เว็บบล็อกของครูเพ็ญศรี แทนหนู  http://pensrithai.blogspot.com/2014/02/blog-post_7696.html 

วันอาทิตย์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2557

กิจกรรมประชุมติดตามผลการสอนในเว็บบล็อก (รวบรวมคะแนน)

เรียน  ครูเครือข่าย Thai3p ทุกท่าน

     เพื่อให้การติดตามผลการดำเนินการจัดจัดการเรียนรู้เป็นไปตามกำหนด ในกิจกรรมการติดตามผลการดำเนินงานจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง การเขียนเรียงความเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งได้ดำเนินการจัดการเรียนรู้ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 รวมทั้งในช่วงระยะเวลาปิดเทอม (สำหรับโรงเรียนที่สอบปลายภาคล่าช้า) นี้ จึงขอแจ้งให้ครูเครือข่ายทุกท่าน โปรดเตรียมการรวบรวมคะแนนเพื่อที่จะได้รวบรวมส่งในช่วงเดือนเมษายน 2557 นี้
     สำหรับกำหนดการจัดกิจกรรม จะแจ้งให้ทราบอย่างเป็นทางการ ซึ่งอาจอยู่ในช่วงต้นเดือนเมษายน หรือปลายเดือนเมษายน 2557 (ขณะนี้กำลังรอการอนุมัติเงินทุนสนับสนุน คาดว่าจะได้รับการโอนเงินทุนสนับสนุนมาภายในเดือนเมษายน 2557 นี้)
          สำหรับท่านที่มีปัญหาในการจัดการเรียนรู้และการรวบรวมคะแนน รวมทั้งการเขียนรายงาน [ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม] โปรดประสานคุณนิลดา เจะอาแว ผู้ประสานงาน หรือติดต่อคณะนักวิจัยโดยตรงที่ ดร.ศิริชัย นามบุรี  โทรศัพท์ 08 4196 8099 ครับ


วันเสาร์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2557

แนะนำเมืองเบตง เมืองในหมอก ดอกไม้งาม ผลงานของนักเรียนชั้น ม.2 โรงเรียนจันทร์ประภัสสร์อนุสร์

http://krumaprangjp.blogspot.com/2014/02/blog-post_1854.html

     ผลงานการเขียนเรียงความเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียน แนะนำเมืองเบตง อำเภอใต้สุดสยาม เมืองในหมอก ดอกไม้งาม ของเด็กหญิงนิดา วงศ์บุญชัยเลิศ จัดการเรียนรู้ผ่านเว็บบล็อกของคุณครูรณชัย จันทร์แก้ว (ครูมะปราง) ท่านที่สนใจ ลองอ่านได้ครับ... http://krumaprangjp.blogspot.com/2014/02/blog-post_1854.html  

วันพฤหัสบดีที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2557

เศรษฐกิจพอเพียง: ตัวอย่างเรียงความนักเรียนชั้น ม.2 สอนโดยครูสารีนา สะอิ โรงเรียนตันหยงมัส จ.นราธิวาส

http://krusareena.blogspot.com/2014/03/blog-post_8298.html
ตัวอย่างเรียงความเชิงสร้างสรรค์ เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง  ของเด็กหญิงฟารียา ฮาละ นักเรียนชั้น ม. 2 โรงเรียนตันยงมัส จ.นราธิวาส ซึ่งรับผิดชอบสอนโดยคุณครูสารีนา สะอิ นับเป็นการเขียนเรียงความในเรื่องที่เป็นประโยชน์ เนื้อหาเชิงสร้างสรรค์ เป็นตัวอย่างการจัดการเรียนรู้ โดยนำไอซีทีมาประยุกต์ใช้ โดยเฉพาะในเรื่อง "การเขียนเรียงความ" ทำให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ กระตุ้นให้เกิดทักษะการใช้ไอซีทีเพื่อการเรียนรู้ สร้างลักษณะนิสัยการเรียนรู้ด้วยตนเอง การสืบค้นความรู้ การรวบรวม การเรียบเรียงเนื้อหาได้ด้วยตนเอง
 

วันพุธที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ตัวอย่างการใช้ Facebook สอนภาษาไทย ในกลุ่เครือข่ายครู Thai3p

    ตัวอย่างการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์สร้างกลุ่มร่วมกันในการพัฒนาการเรียนการสอนของเครือข่ายครูผู้สอนภาษาไทย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 15 โรงเรียน ร่วมกันพัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทย เรื่อง การเขียนเรียงความเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมในการเข้าร่วมโครงการวิจัย เรื่อง รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมกันผ่านเว็บบล็อกและเครือข่ายสังคมออนไลน์สอนทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์สำหรับครูผู้สอนภาษาไทยระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในสามจังหวัดชายแดนใต้ 
    เครือข่ายสังคมออนไลน์เฟซบุ๊ค (http://www.Facebook.com ) นับเป็นเครือข่ายสังคมออนไลน์ขนาดใหญ่ มีสมาชิกเชื่อมต่อออนไลน์ต่อเดือนอยู่จำนวนมากกว่า 1.23 พันล้านราย (ข้อมูลเมื่อ 1/29/2014)  เฟชบุ๊คมีความสามารถหลากหลาย จัดการกลุ่มและสมาชิกได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถสร้างกลุ่มแบบเปิดและกลุ่มแบบปิด บริการเฉพาะสมาชิกในกลุ่มเท่านั้นก็ได้ นอกจากนั้นยังมีความสามารถในการจัดการภาพ ตารางนัดหมายกิจกรรม จัดการแนบแฟ้มข้อมูลเพื่อแลกเปลี่ยนกันได้สะดวก ซึ่งเหมาะสำหรับการนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารขณะมีกิจกรรมเรียนรู้ร่วมกัน หรือแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน เป็นช่องทางในการสื่อสารได้สะดวกในทุกๆ ที่ทุกๆ เวลา โดยเฉพาะในปัจจุบันที่แต่ละคนสามารถจัดหาหรือมีอุปกรณ์ประเภทเคลื่อนที่ติดตามตัว (Mobile Devices) เช่น Smart Phone, Tablet, iPad  ที่มีความก้าวหน้าไปอย่างมาก เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านเครือข่าย 3G จึงนับเป็นเครื่องมือที่ทำให้เราสามารถเข้าถึงอินเทอร์ได้ในทุกๆ ที่และทุกเวลา จึงทำให้ทั้งผู้เรียนและผู้สอนต้องปรับเปลี่ยนเทคนิค วิธีการสอน และรวมทั้งเทคนิคการเรียนรู้ร่วมกัน
    ดังตัวอย่าง เป็นการใช้ Facebook เป็นเครื่องมือส่วนหนึ่งของผู้สอนใช้ร่วมกัน Web Blog ทดลองจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทยระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง การเขียนเรียงความเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งนับเป็นการสร้างศักยภาพด้าน ICT เพื่อการเรียนรู้ของสังคมไทยได้อย่างชัดเจน

วันเสาร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

โครงการ Thai3p จัดกิจกรรมติดตาม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ปัญหา และอุปสรรคระหว่างการจัดการเรียนรู้

    โครงการวิจัยเรื่อง รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมกันผ่านเว็บบล็อกและเครือข่ายสังคมออนไลน์สอนทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ สำหรับครูผู้สอนภาษาไทยระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ ในสามจังหวัดชายแดนใต้ จัดกิจกรรมที่ ๖ เพื่อติดตาม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ปัญหาและอุปสรรคระหว่างการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบที่กำหนดขึ้น โดยจัดกิจกรมใน วันเสาร์ที่ ๒๒ กุมภาพันธ์๒๕๕๗ เวลา ๐๘.๓๐ –๑๖.๐๐ น.  ณ ห้องประชุมชั้น ๖ อาคารสำนักวิทยบริการฯ (หอสมุด) มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ตามรายละเอียดกิจกรรมดังนี้
[ ภาพกิจกรรมเพิ่มเติม...]

วันอาทิตย์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

แนะนำเว็บสอนภาษาไทยของครูมะปราง (ครูรณชัย จันทร์แก้ว)

ตัวอย่างเว็บบล็อกของครูมะปราง http://krumaprangjp.blogspot.com
แนะนำเว็บบล็อกครูมะปราง หรือคุณครูรณชัย จันทร์แก้ว ครูภาษาไทยที่เข้าร่วมในโครงการวิจัยครั้งนี้ http://krumaprangjp.blogspot.com ตัวอย่างการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การเขียนเรียงความเชิงสร้างสรรค์ มีผลงานนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนจันทร์ประภัสส์อนุสรณ์ อ.เบตง จ.ยะลา นำเสนอเรื่องราวต่างๆ ที่น่าสนใจ พร้อมภาพประกอบที่สวยงาม ติดตามเนื้อหาและชมภาพในเว็บบล็อกของคุณครู ซึ่งผลงานของผู้เรียนจะได้รับข้อเสนอแนะจากคุณครู และปรับแก้ให้มีคุณภาพยิ่งขึ้นต่อไป

วันเสาร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ตัวอย่างเว็บบล็อกครูเพ็ญศรี แทนหนู โรงเรียนบ้านตันหยงมัส สอนภาษาไทย ม.2

การจัดการเรียนการสอนภาษาไทยชั้น ม.2 เรื่อง การเขียนเรียงความเชิงสร้างสรรค์ ของครูเพ็ญศรี แทนหนู เป็นการปรับประยุกต์ใช้ ICT เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ในยุคใหม่ 
ตัวอย่างเว็บบล็อกสอนภาษาไทย ครูเพ็ญศรี แทนหนูู
ที่สำคัญทำให้ผู้เรียนสามารถถ่ายทอดเรื่องราวดีๆ เชิงสร้างสรรค์ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส ในวงกว้างผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ผู้เรียนเกิดทักษะการสืบค้นข้อมูล ทักษะการเขียนเรียงความและเผยแพร่ผ่านเว็บบล็อก องค์ประกอบในเนื้อหาของเรียงความ นอกจากจะมีโครงสร้างของตัวเรียงความครบถ้วนตามองค์ประกอบของเรียงความแล้ว ผู้เรียนยังสามารถนำสื่อมัลติมีเดียที่สืบค้นได้หรือที่สร้างหรือถ่ายทำเอง เช่น ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว รวมถึงการเชื่อมโยงไปยังแหล่งข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ใช้ ICT ให้เกิดประโยชน์ และเป็นแนวทางหนึ่งในการปฏิรูปวิธีการเรียนรู้ของนักเรียนยุค ICT  ผู้สนใจสามารถเข้าไปเยี่ยมชมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้ที่เว็บบล็อกของคุณครูเพ็ญศรีที่ลิงก์ http://pensrithai.blogspot.com หรือของครูเครือข่าย Thai3p ได้ที่ http://thai3p.blogspot.com/p/blog-page_15.html

วันพุธที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ตัวอย่างเว็บบล็อกสอนภาษาไทย เรื่อง การเขียนเรียงความเชิงสร้างสรรค์ คุณครูรอกีเย๊าะ ดิง (ครูจิ๊)

    แนะนำเว็บบล็อกสำหรับการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย ชั้น ม. 2 ของคุณครูรอกีเย๊าะ  ดิง (ครูจิ๊) โรงเรียนพัฒนาวิทยา (แผนกสาธิต) ซึ่งเริ่มจัดการเรียนการสอน และประเมินผลการเขียนเรียงความเชิงสร้างสรรค์ ให้คะแนนและข้อเสนอแนะแก่ผู้เรียน ให้โอกาสในการปรับปรุงผลงาน ท่านที่สนใจ สามารถติดตามผลงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับคุณครูจิ๊ได้ที่ http://kroojisatit.blogspot.com


วันเสาร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2557

ตัวอย่างเว็บบล็อก คุณครูหยาดฝน ส่าหีม โรงเรียนนราสิกขาลัย จ.นราธิวาส

http://narasikkalaithai.blogspot.com/
 
http://narasikkalaithai.blogspot.com  เว็บบล็อกคุณครูหยาดฝน ส่าหีม โรงเรียนนราสิกขาลัย อ.เมือง จ.นราธิวาส ตัวอย่างการใช้เว็บบล็อกเริ่มจัดการการเรียนรู้ เรื่อง การเขียนเรียงความเชิงสร้างสรรค์ โดยมีตัวอย่างผลงานของนักเรียนเขียนเรียงความนำเสนอไว้ในเว็บบล็อกของคุณครู เข้าไปเยี่ยมชมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันได้ครับ

นำเสนอความก้าวหน้าของโครงการวิจัยระยะที่ 1


วันอังคารที่ 21 มกราคม 2557  ดร.ศิริชัย นามบุรี หัวหน้าโครงการวิจัยฯ จะเดินทางไปนำเสนอผลการดำเนินงานโครงการวิจัย เรื่อง รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมกันผ่านเว็บบล็อกและเครือข่ายสังคมออนไลน์ สอนทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์สำหรับครูผู้สอนภาษาไทยระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในสามจังหวัดชายแดนใต้ ณ ห้องประชุม 1 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)  อาคาร SM สนามเป้า กรุงเทพมหานคร สำหรับกิจกรรมการรายงานผลและผลการนำเสนอข้อมูลจะได้นำมาฝากคณะครูเครือข่าย Thai3p ต่อไปครับ ขอให้คุณครูทุกท่านมีความสุขกับการพัฒนาเว็บบล็อกสำหรับเตรียมการจัดกการเรียนรู้ต่อไปนะครับ คงจะมีกิจกรรมร่วมกันอีกครั้ง ช่วง วันที่ 1-2 กุมภาพันธ์ 2557 ครับ